ความเป็นมาของเห็ดไมตาเกะ
เห็ดไมตาเกะ Maitake Mushroom (Grifola Frondosa) เป็นยาสมุนไพรตั้งแต่สมัยโบราณนับพันปี พบบนภูเขาทางตะวันออกเฉียงเหนือญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นเรียกเห็ดไมตาเกะว่า “เห็ดมหัศจรรย์” และ “เห็ดแห่งความเยาว์วัยและอายุยืนยาว” ไมตาเกะ (Maitake) แปลว่า “เห็ดเต้นรำ” เนื่องจากคนญี่ปุ่นจะเต้นรำกันอย่างมีความสุขเมื่อพบเห็ดชนิดนี้ในป่า ในอดีตคนญี่ปุ่นจะนำเห็ดไมตาเกะมาบริโภคเพื่อหวังผลทางยาเป็นส่วนใหญ่ ยุคแรกนั้นเห็ดไมตาเกะมีมูลค่าสูงเนื่องจากหาได้ยากและมีจำหน่ายในบางพื้นที่ของภูมิภาคเท่านั้น
นับตั้งแต่ประมาณปี 1983 เป็นต้นมา เริ่มมีการจำหน่ายในตลาดนี้อย่างแพร่หลายอันเป็นผลมาจากการความสำเร็จในการเพาะเห็ดไมตาเกะเองได้โดยมนุษย์ ปัจจุบันเห็ดไมตาเกะเป็นเห็ดที่บริโภคกันมากในญี่ปุ่น
คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดไมตาเกะ (Maitake Mushroom)
คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดไมตาเกะประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต (โพลีแซ็กคาไรด์ หรือ เบต้ากลูแคน) วิตามิน และแร่ธาตุ เช่น โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็ก เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และสารอาหารเหล่านี้มีประสิทธิภาพในการฟื้นตัวจากความอ่อนล้าทางร่างกายและการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรา (NCDs) เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และโรคหลอดเลือดแข็งตัว ในเห็ดไมตาเกะมีปริมาณเส้นใยสูง ช่วยเพิ่มเส้นใยอาหารให้กับร่างกาย ช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้อีกด้วย
สารสำคัญในเห็ดไมตาเกะที่มีสรรพคุณทางยา
เบต้ากลูแคน (Beta-Glucan) เป็น Polysaccharide ชนิดหนึ่ง เป็นสารสำคัญหลักที่พบมากในเห็ดไมตาเกะ โดยเห็ดไมตาเกะเป็นหนึ่งในเห็ดตระกูลสมุนไพร ที่ได้รับการศึกษาวิจัยมากมายจากนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ตามรายงานของ NCBI เบต้ากลูแคน (Beta-glucan) ทำหน้าที่หลักในการกระตุ้นเม็ดเลือดขาว (Macrophage) ให้ดักจับและทำลายสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันมีความแข็งแรงและลดการป่วยของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เบต้ากลูแคน (Beta Glucan) ที่งานวิจัยกล่าวถึงอย่างกว้างขว้าง ว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโรคนั้นจะอยู่ในรูปแบบของ MX-fraction และ MD-fraction
MX-fraction และ MD-fraction ในเห็ดไมตาเกะคืออะไร
MX-fraction และ MD-fraction คือ พอลิแซ็กคาไรด์ หรือ เบต้ากลูแคน ที่มีโครงสร้างเฉพาะที่พบได้ในเห็ดไมตาเกะถูกค้นพบโดย ศ.ดร. นันบะ ฮิโรอะกิ (Prof. Dr. Hiroaki Nanba) จาก Kobe Pharmaceutical University Japan
MX-fraction ได้ถูกค้นพบและมีการนำเสนองานวิจัยอย่างเป็นทางการในปี 1999 ว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโรคที่ไม่ติดต่อเรื้องรั้ง (NCDs) ที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรา ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และไขมันในเลือดสูง
MD-Fraction ถูกค้นพบในปี 1985 ระหว่างการวิจัยเพื่อหาฤทธิ์ต้านมะเร็งจากโพลิแซ็กคาไรด์ของเห็ดชนิดต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศญี่ปุ่นจำนวน 36 ชนิด จากงานวิจัยพบว่า “เห็ดไมตาเกะ” มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการต้านมะเร็ง และที่สำคัญ “MD Fraction มีโครงสร้างโมเลกุลพิเศษที่ไม่พบในเห็ดชนิดอื่นๆ จะพบได้เฉพาะในเห็ดไมตาเกะเท่านั้น” จากงานวิจัยของ Dr. Nanba ยังแสดงให้เห็นว่าเห็ดไมตาเกะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ดีกว่าเห็ดชนิดอื่นๆ จึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ส่งผลโดยตรงต่อระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ การยับยั้งการเจริญเติบโตและแพร่กระจายของเซลล์ของมะเร็ง การป้องกันโรคและช่วยบำรุงรักษาสุขภาพให้แข็งแรงมากขึ้น.
สรรพคุณของเห็ดไมตาเกะ
1. ระบบภูมิคุ้มกัน
ในเห็ดไมตาเกะมี “สารเบต้ากลูแคน(Beta-Glucan)” มากกว่าเห็ดชนิดอื่นๆ และหน้าที่หลักของสารเบต้ากลูแคน คือ ช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้ร่างกายมีความพร้อมที่จะต่อสู่กับเชื้อโรค หรือเชื้อไวรัสต่างๆที่จะเข้ามาสู่ร่างกายโดยที่เราไม่รู้ตัว ลดโอกาสการเจ็บป่วย ลดโอกาสการเกิดอาการแพ้ต่างๆ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง สดชื่น และกระปี้กระเปร่า
2. สุขภาพหัวใจ และ ระดับไขมันในเลือด
เบต้ากลูแคน หรือ MX-fraction ในเห็ดไมตาเกะสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอล เสริมประสิทธิภาพการทำงานของหลอดเลือดแดง สุขภาพหัวใจ และหลอดเลือดโดยรวม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โพลีแซคคาไรด์ที่ได้จากเห็ดไมตาเกะสามารถลดคอเลสเตอรอลหรือไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ได้ โดยไม่ส่งผลต่อระดับไขมันดี (HDL)
3. ระดับน้ำตาลในเลือด
MX – Fraction ซึ่งเป็น Polysaccharide ขนาดมีใหญ่จึงช่วยในการเพิ่มความสามารถในกระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือด และควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือดโดยช่วยกระตุ้นการทำงานของอินซูลินและลดความต้านทานต่ออินซูลินในเวลาเดียวกัน อีกทั้ง MX-fraction จะช่วยยับยั้ง alpha-glucosidase enzyme ซึ่งเป็นเอนไซด์ที่ทำหน้าที่ย่อยแป้งให้น้ำตาลเป็นกลูโคส จึงช่วยลดการดูดซึมกลูโคสในกระแสเลือดให้น้อยลงได้
4. ความดันโลหิต
จากงานวิจัยพบว่า เบต้ากลูแคน (Beta glucan) ในเห็ดไมตาเกะมีส่วนช่วยลดความดันโลหิตได้ ด้วยประสิทธิภาพของ MX-fraction ที่ช่วยลดระดับไขมันในเลือด และลดระดับน้ำตาลในเลือดส่งผลให้ระบบการไหลเวียนของเลือดไม่ติดขัดทำให้สามารถป้องกันความดันโลหิตสูงได้
5. มะเร็ง
จากการวิจัยของ Dr. Nanba และนักวิทยาศาตร์ทั่วโลก พบว่าสาร MD-Fraction (Beta Glucan หรือ Polysaccharide) ในเห็ดไมตาเกะนั้นมีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ชะลอการเติบโตของเนื้องอก งานวิจัยทดลองที่ Sloan Kettering Cancer Center พบว่า MD-Fraction ได้ถูกนำไปใช้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งโดยไม่ต้องใช้การบำบัดร่วมกัน ผลการรักษาพบว่าการเจริญเติบโตของเนื้องอกลดลงอย่างเห็นได้ชัด แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการโจมตีเนื้องอกได้
อีกทั้งยังมีงานวิจัยอื่น ๆ ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถที่เพิ่มขึ้นเมื่อ MD-fraction ถูกใช้รวมเข้ากับวิตามินซีสำหรับการรักษามะเร็ง
6. ระบบขับถ่าย
เห็ดไมตาเกะสดในปริมาณ 100 กรัม มี Fiber ปริมาณ 3.5 กรัม เห็ดไมตาเกะสดในปริมาณ 100 กรัม นำมาทำเป็นเห็ดไมตาเกะแห้งได้ ปริมาณ 7.3 กรัม จะมี Fiber ถึง 47.9 % ผลจากไฟเบอร์ที่ได้จากการรับประทานเห็ดไมตาเกะจะช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติได้
ประวัติ ดร. นันบะ ผู้ค้นพบสารสำคัญในเห็ดไมตาเกะ ( Maitake)
ศ.ดร. นันบะ ฮิโรอะกิ (Prof. Dr. Hiroaki Nanba) ได้เริ่มศึกษาหาสารสำคัญในเห็ด “ไมตาเกะ (Maitake)” ในปี 1984 เนื่องจากในอดีต ชาวญี่ปุ่นนำเห็ดไมตาเกะมาบริโภคเพื่อหวังผลทางยาสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ดร. นันบะ จึงเริ่มศึกษาคุณสมบัติทางเคมีของเห็ด 36 ชนิด ที่หาได้จากทั้งในและนอกประเทศญี่ปุ่น จนในที่สุด ดร.นัมบะและทีมวิจัยสามารถค้นพบว่าพอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) ที่ได้จากเห็ดไมตาเกะ สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง พร้อมกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ เขาตั้งชื่อสารนี้ว่า MD-fraction ส่วนสารสำคัญอีกตัวหนึ่งเขาได้ตั้งชื่อว่า MX-fraction ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคติดต่อไม่เรื้อรัง(NDCs) ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และไขมันในเลือดสูง การค้นพบสารสำคัญในเห็ดไมตาเกะของ ศ. ดร. นันบะ ได้รับความสนใจจากทั่วโลก ไม่เพียงแต่ในญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงในสหรัฐอเมริกา เยอรมนี อิตาลี ภาคใต้ เกาหลีและจีน
ศ.ดร.นัมบะ ได้ทำการวิจัยศึกษาประสิทธิภาพของ MD-fraction โดยร่วมมือกับศูนย์มะเร็ง Sloan-Kettering Cancer Center และได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลสหรัฐฯ ความสำเร็จของงานวิจัยในครั้งนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์เฉพาะด้านมะเร็ง ทำให้ ศ.ดร. นันบะ ฮิโรอะกิ (Prof. Dr. Hiroaki Nanba) ได้รับรางวัลจาก American Cancer Society of Complementary Medicine
นอกจากผลงานค้นคว้าวิจัยเรื่องเห็ดไมตาเกะแล้ว ดร.นัมบะยังมีผลงานการเขียนหนังสือ รวมถึงบทความทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเห็ดไมตาเกะ อาทิ Maitake Daietto, Maitake-Challenging Cancers, Immune-Power; Another Method to Combat Influenza และ Maitake – Combatting Cancers and Lifestyle-Related Diseases อีกทั้งยังเดินทางไปเป็นวิทยากรให้ความรู้ในเรื่องของเห็ดไมตาเกะอยู่เสมอ

ที่มาของข้อมูลและงานวิจัยอ้างอิง:
- Kubo K, Aoki H, Nanba H,. Anti-diabetic Activity Present in the fruit body of Grifola Frondora( Maitake) .I. Biological & Pharmaceutical Bulletin. 1994; 17(8): 1106-1110.
- Kubo K, Nanba H,.Anti-Hyperliposis Effect of Maitake Fruit Body (Grifola frondora).I. Biological & Pharmaceutical Bulletin. 1997; 20(7): 781-785.
- Kubo K, Nanba H., The Effect of Maitake Mushroom on Liver and Serum Lipids. Alternative Therapies. 1996; 2(5), 62-66.
- K Adachi, H Nanba, H Kuroda,. Potentiation of host-mediated antitumor activity in mice by beta-glucan obtained from Grifola frondosa (maitake). Chem Pharm Bull (Tokyo). 1987 Jan; 35(1):262-70. doi: 10.1248/cpb.35.262.
- H Nanba, A Hamaguchi, H Kuroda., The chemical structure of an antitumor polysaccharide in fruit bodies of Grifola frondosa (maitake). Chem Pharm Bull (Tokyo). 1987 Mar;35(3):1162-8. doi: 10.1248/cpb.35.1162.
- Mori K, Toyomatsu T, Nanba H and Kuroda H, Antitumor Activities of Edible Mushrooms by Oral Administration. Int’l Symposium Scientific and Tech. The Penn Univ., July 1986.
- Nanba H., Maitake D-fraction: Healingand Preventive Potential for Cancer. Journal of Orthomolecular Medicine 1997 12(1), 43-49.
- Nanba H: Antitumor activity of orally administered “D-fraction” from maitake mushroom (grifola frondosa), J. Naturopathic Med 1993; 1(4) 10-15.
- Hishida I, Nanba H and Kuroda H., Anti-tumor Activity Exhibited by Orally Administered Extract from Fruit Body of Grifola frondosa (Maitake). Chem Pharm Bull (Tokyo). 1988 May;36(5):1819-27. doi: 10.1248/cpb.36.1819.
- I Suzuki, T Itani, N Ohno, S Oikawa, K Sato, T Miyazaki, T Yadomae., Effect of a polysaccharide fraction from Grifola frondosa on immune response in mice. J Pharmacobiodyn. 1985 Mar;8(3):217-26. doi: 10.1248/bpb1978.8.217.
- Ohno N, Ito K, Takeyama T, Suzuki I, Sato K, Oikawa S and Miyazaki T,. Structural charaterization and antitumor activity of the extracts from matted mycelium of cultured grifola frondosa. Chem Pharm Bull. 1985 Aug;33(8):3395-401. doi: 10.1248/cpb.33.3395.
- Iino K, Ohno N, Suzuki I, Sato K, Oikawa S, Yadomae T: Structure-function relationship of antitumor beta 1,3-glucan obtained from matted mycelium of cultured Grifola fondosa. Chem Pharm Bull. 1985 Nov;33(11):4950-6. doi: 10.1248/cpb.33.4950.
- Zhi-Bin Lin. Cellular and molecular mechanisms of immuno-modulation by Ganoderma lucidum, J Pharmacol Sci. 2005 Oct;99(2):144-53. doi: 10.1254/jphs.crj05008x.
- Sato M, Tokuji Y, Yoneyama S, Akiyama K, Kinoshita M, Chiji H, Ohnishi M,. Effect of Dietary Maitake (Grifola frondosa) Mushrooms on Plasma Cholesterol and Hepatic Gene Expression in Cholesterol-Fed Mice. 2013; 62(12) 1049-1058. doi.org/10.5650/jos.62.1049.
- Preuss, H. G., Echard, B., Bagchi, D., & Perricone, N. V. Maitake Mushroom Extracts Ameliorate Progressive Hypertension and Other Chronic Metabolic Perturbations in Aging Female Rats. International Journal of Medical Sciences, 169–180. doi:10.7150/ijms.7.169