ภาวะท้องผูกเรื้อรัง เป็นอาการที่พบได้บ่อยในประชากรทั่วไป ส่วนมากจะไม่ทราบสาเหตุ ผู้คนส่วนใหญ่มักจะนิยมใช้วิธีการรับประทานยาระบายเองเพื่อบรรเทาอาการท้องผูก การใช้ยาระบายนานกว่าสองสัปดาห์โดยไม่ได้มีแพทย์คอยให้คำแนะนำ หรือใช้ยาระบายมากเกินไป อาจทำให้อาการของคุณแย่ลงได้ หากคุณมีอาการท้องผูกแล้วปล่อยทิ้งไว้ไม่รีบรักษาอาจสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้ เช่น ริดสีดวงทวาร หรือ มะเร็งลำไส้
ท้องผูก (Constipation) ในทางการแพทย์ หมายถึง การที่เราถ่ายอุจจาระได้น้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ลักษณะการท้องผูกของแต่ละบุคคลแตกต่างกันออกไป ส่วนมากจะรู้สึกว่ามีอาการ อุจจาระแข็ง ไม่ค่อยรู้สึกปวดอุจจาระ ต้องออกแรงเบ่ง หรือรู้สึกว่าถ่ายไม่สุด ใช้เวลาในการถ่ายนานมาก หรือถ่ายไม่เสร็จ
ลักษณะอาการท้องผูก
- ถ่ายอุจจาระลำบาก
- เครียดเมื่อถ่ายอุจจาระ
- ถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติ
- อุจจาระเป็นก้อน แห้ง หรือแข็ง
- ปวดและตะคริวในช่องท้อง
- รู้สึกท้องป่อง
- คลื่นไส้
- เบื่ออาหาร
สาเหตุใดบ้างที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก
- การเปลี่ยนแปลงลักษณะการกินอาหารหรือกิจวัตรประจำวัน
- ดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารที่ให้ไฟเบอร์ไม่เพียงพอในแต่ละวัน
- ขาดการออกกำลังกาย
- กลั้นอุจจาระเมื่อรู้สึกปวด
- ความเครียด
- การใช้ยาระบายมากเกินไป
- อาการลำไส้แปรปรวน
- การตั้งครรภ์
- ยาบางชนิด (โดยเฉพาะยาแก้ปวดชนิดรุนแรง เช่น ยากล่อมประสาท และยาเม็ดธาตุเหล็ก)
- ยาลดกรดที่มีแคลเซียมหรืออะลูมิเนียม
- ปัญหาเกี่ยวกับเส้นประสาทและกล้ามเนื้อในระบบย่อยอาหาร
- มะเร็งลำไส้ใหญ่

วิธีการรักษาอาการท้องผูกด้วยตัวเอง
- ดื่มน้ำปริมาณ 8 แก้วต่อวัน (2 ลิตร) หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ
- เพิ่มการรับประทานอาหารไฟเบอร์สูง เช่น ผลไม้ ผัก ธัญพืชไม่ขัดสี และอาหารที่มีเส้นใยสูงอื่นๆ
- รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงให้น้อยลง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม
- ออกกำลังให้สม่ำเสมอ 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อลำไส้ได้เคลื่อนไหวมากขึ้น
- เข้าห้องน้ำทันทีเมื่อรู้สึกปวดอุจจาระ
- ไม่อั้นอุจจาระเมื่อรู้สึกปวด
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาระบาย
- รับประทานพรีไบโอติกส์ซึ่งเป็นอาหารให้กับจุลินทรีย์ในลำไส้ ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหลายชนิดที่มีคุณบัติเป็นพรีไบโอติกส์ ง่ายและสะดวกต่อการรับประทาน
ที่มาของข้อมูลและงานวิจัยอ้างอิง :
แนวทางการดูแลรักษาภาวะท้องผูกเรื้อรัง, สมาคมประสาททางเดินอาหารและการเคลื่อนไหว ท้องผูกจากยา, http://healthydee.moph.go.th/